สรุปองค์ความรู้จาการจัดการความรู้ การจัดการเรียนการสอนด้วยการสะท้อนคิด (Reflection) ปีการศึกษา 2560 ปีงบประมาณ 2561
ในปีการศึกษา 2560 งานการสอนได้จัดการความรู้ในเรื่องดังกล่าวต่อ สามารถสรุปผลลัพธ์การ จัดการความรู้ด้วยการสะท้อนคิด ได้ข้อมูลดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น (ผ่านอายตนะทั้ง 6) พฤติกรรมของครูในการสะท้อนคิดผู้เรียน ต้องมีส่วนประกอบเช่น ท่าทางต้องเป็นมิตร น้ าเสียง เอื้ออาทร สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้เรียน ถ้าผู้สอนเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน ผู้เรียนจะสามารถพูดบอก เล่าเรื่องราวได้ การกระตุ้นพัฒนาการความรู้สามารถ ทำได้ 3 ระดับ ดังนี้
1.1 ความรู้แบบผิวเผิน (Superficial awareness)
1.2 ความรู้ว่าตนเองยังไม่รู้อะไร (Selective awareness)
1.3 ความรู้ว่าตนเองอยากรู้อะไรเพิ่มมากขึ้น (Deep awareness)
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อเกิดความตระหนักถึงประเด็นปัญหานั้นแล้วเตรียมสะท้อนคิดส่วนบุคคล (self - reflection)
ขั้นตอนที่ 3 ทบทวน ข้อเท็จจริงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ร่วมกับเพื่อน (group reflection)
ขั้นตอนที่ 4 หาข้อมูลเพิ่มเติม นำมาวิเคราะห์ร่วมเพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ /ปรากฏการณ
ขั้นตอนที่ 5 ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ถึงความรู้สึก ความคิดใหม่ (Growth Mindset)
ขั้นตอนที่ 6 นำกระบวนการคิดใคร่ครวญที่ได้ใช้ในสถานการณ์ใหม่ (Presentation - reflection)
-KM เผยแพร่ กลุ่มการสอน reflective ปกศ 60 19 ตค 61 >>ดาวน์โหลด
Add Your Comment ×