การจัดการความรู้ เรื่อง การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ด้วยการสะท้อนความคิด

การจัดการความรู้
โดย
1 นาที ในการอ่าน

การสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพุทธิปัญญา เจตคติ และพฤติกรรม อย่างลึกซึ้งโดยพบว่า บุคคลที่มีการสะท้อนคิดจะพัฒนามุมมองใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม มีความพร้อมที่จะ เผชิญสถานการณ์ มีความมุ่งมั่นในการกระทำ พัฒนาวิธีการเรียนรู้ภายในตนจากขั้นพื้นฐานไปสู่ความซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีความกล้าหาญ มีจุดยืน มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ เป็นตัวของตัวเอง เพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากได้มากขึ้น แต่เนื่องจากการสะท้อนคิดเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล และ นิยามที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็มีหลากหลาย ประกอบกับธรรมชาติของกระบวนการสะท้อนคิด ก็มิได้พัฒนาใน เชิงเส้นตรง และมิได้เป็นลำดับขั้น หากเป็นไปในลักษณะหลากหลายมิติ ( multi-faceted) มีทั้งส่วนที่เป็น ความกว้าง ความลึก ความก้าวหน้า อีกทั้งยังเป็นโครงสร้างเชิงกระบวนการที่ต้องอาศัยประเด็นเนื้อหาของ เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นสาระของการสะท้อนคิด การสะท้อนคิดจึงเป็นได้ทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ มีทั้งส่วนที่ เป็นลักษณะเฉพาะเจาะจง และไม่เฉพาะเจาะจง ที่สำคัญการวัดและการประเมินการสะท้อนคิด อาจเป็น ปัจจัยที่ทำให้ขาดอิสระในการสะท้อนคิด ส่งผลให้การสะท้อนคิด อยู่ในกรอบ วิธีการ ขั้นตอนของการวัดและ การประเมิน ซึ่งต่างไปจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็นได้เช่นกัน การวัดและประเมินผลการสะท้อนคิด จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องมีความยืดหยุ่นสูง คำนึงถึงผลกระทบของการวัดและประเมิน ต่อสิ่งที่ได้จากการวัด และประเมินด้วย 

-การจัดการความรู้ เรื่องการสะท้อนคิด>>ดาวน์โหลด

Add Your Comment